การตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐาน CPTG (ซีพีทีจี)


น้ำมัน doTERRA บริสุทธิ์หรือไม่?

ความบริสุทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุด เมื่อน้ำมันหอมระเหยถูกผสมหรือปนเปื้อน จะทำให้มีประสิทธิภาพลดลงและอาจเป็นอันตรายได้ เหนือสิ่งอื่นใด ความบริสุทธิ์คือสิ่งสำคัญอันดับแรกของ doTERRA เมื่อผลิตน้ำมันหอมระเหย 

doTERRA มั่นใจได้อย่างไรว่าน้ำมันหอมระเหยของตนบริสุทธิ์?

ตั้งแต่แรกเริ่ม เรามุ่งมั่นที่จะแบ่งปันน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์คุณภาพให้กับคนทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจนสำหรับความบริสุทธิ์ของน้ำมันหอมระเหย doTERRA จึงตัดสินใจกำหนดมาตรฐานความบริสุทธิ์ในอุตสาหกรรมน้ำมันหอมระเหย 

บริษัทน้ำมันหอมระเหยไม่ทุกแห่งเลือกที่จะบังคับใช้มาตรฐานการทดสอบที่สูงสำหรับน้ำมันของตน ในความเป็นจริง บริษัทหลายแห่งละเลยขั้นตอนสำคัญในกระบวนการทดสอบเพื่อประหยัดเงินหรือเวลา น่าเสียดายที่หากไม่ได้ใช้มาตรการทดสอบที่เหมาะสม ก็ไม่สามารถรับรองได้ว่าน้ำมันหอมระเหยนั้น "บริสุทธิ์" อย่างแท้จริง

เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำมันหอมระเหยแต่ละขวดบริสุทธิ์และปราศจากสารปนเปื้อนหรือสารสังเคราะห์ doTERRA จึงได้สร้างโปรโตคอล CPTG Certified Pure Tested Grade ® ขึ้น กระบวนการ CPTG ประกอบด้วยการตรวจสอบน้ำมันทุกชุดอย่างเข้มงวด รวมถึงการทดสอบจากบุคคลที่สามเพื่อรับประกันความโปร่งใส


เหตุใดการใช้น้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์จึงสำคัญ?

บางคนถามว่า “ความบริสุทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยสำคัญจริงหรือ” หรือ “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าฉันใช้น้ำมันหอมระเหยที่ไม่บริสุทธิ์”

คำตอบคือใช่ ความบริสุทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยมีความสำคัญ หากคุณใช้น้ำมันที่มีการเจือปน ปนเปื้อน หรือเติมสารตัวเติมสังเคราะห์ คุณจะไม่ได้รับคุณประโยชน์จากธรรมชาติของพืชอย่างเต็มที่ และในบางกรณี น้ำมันคุณภาพต่ำอาจเป็นอันตรายและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณได้อีกด้วย

นี่คือเหตุผลที่ doTERRA ใส่ใจอย่างยิ่งต่อความบริสุทธิ์ของน้ำมันหอมระเหย หากคุณใช้น้ำมันที่ไม่บริสุทธิ์ คุณอาจสัมผัสได้ถึงคุณประโยชน์ของน้ำมันได้ยาก และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณได้ อย่างไรก็ตาม หากคุณใช้น้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ที่ไม่ผ่านการปรุงแต่ง น้ำมันหอมระเหยจะมีประสิทธิภาพมากกว่า และคุณสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย


วิธีทราบว่าน้ำมันหอมระเหยของคุณบริสุทธิ์หรือไม่

คุณจะทราบได้อย่างไรว่าน้ำมันหอมระเหยของคุณบริสุทธิ์ ก่อนที่คุณจะซื้อน้ำมันหอมระเหย ควรค้นคว้าข้อมูลเล็กน้อยเพื่อดูว่าบริษัทน้ำมันหอมระเหยจัดหา ผลิต และทดสอบน้ำมันของตนอย่างไร

ต่อไปนี้คือคำถามบางส่วนที่คุณควรถามในระหว่างการค้นคว้าของคุณ: 

  • คุณภาพของพืช:บริษัทใช้พืชคุณภาพสูงในการผลิตน้ำมันหอมระเหยหรือไม่ มีการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงในการดูแลพืชหรือไม่
  • แนวทางปฏิบัติด้านการผลิต:บริษัทมีขั้นตอนด้านความปลอดภัยเพื่อป้องกันการปนเปื้อนระหว่างกระบวนการผลิตหรือไม่ มีการปนเปื้อนน้ำมันหรือมีการเพิ่มสารตัวเติมสังเคราะห์เพื่อลดต้นทุนหรือไม่
  • วิธีการทดสอบ:บริษัททดสอบน้ำมันหอมระเหยทุกล็อตหรือไม่? ใช้การทดสอบจากบุคคลที่สามอย่างเป็นกลางหรือไม่? ผลการทดสอบเปิดเผยต่อสาธารณะหรือไม่? 
  • การจัดเก็บและการจัดการ:น้ำมันได้รับการแปรรูป บรรจุ และจัดเก็บอย่างระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกิดจากการสัมผัสกับความร้อนหรือแสงหรือไม่ (โดยทั่วไปแล้วขวดสีอำพันเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการจัดเก็บน้ำมันหอมระเหย)

การรับประกันความบริสุทธิ์ของน้ำมันหอมระเหย: กระบวนการ CPTG

doTERRA เริ่มกระบวนการทดสอบ CPTG ไม่นานหลังจากการกลั่น โดยจะตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันแต่ละชนิด โรงงานผลิตของ doTERRA ดำเนินการทดสอบรอบที่สองเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำมันที่กลั่นและทดสอบในรอบแรกเป็นน้ำมันชนิดเดียวกับที่ส่งมาที่โรงงานของเรา การตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันเป็นครั้งที่สามจะดำเนินการในขณะที่บรรจุน้ำมันลงในขวดก่อนส่งไปยังผู้บริโภค

การทดสอบแต่ละครั้งยืนยันว่าน้ำมันหอมระเหยของเราปราศจากสารปนเปื้อนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นระหว่างการผลิต


8 วิธีในการรู้ว่าน้ำมันหอมระเหย doTERRA นั้นบริสุทธิ์

กระบวนการทดสอบคุณภาพ CPTG ประกอบด้วย 8 ขั้นตอนหลักเพื่อรับประกันว่าน้ำมันหอมระเหย doTERRA ทุกแบทช์นั้นบริสุทธิ์ ไม่เจือปน และปลอดภัยต่อการใช้งาน

นี่คือการทดสอบที่ doTERRA ใช้เพื่อรับรองความบริสุทธิ์ของน้ำมันหอมระเหย:

  1. การทดสอบแบบออแกโนเลพติก 
  2. การทดสอบไมโครเบียล
  3. การทดสอบแมส สเปคโตรเมทรี
  4. การทดสอบแก๊ส โครมาโตรกราฟี
  5. การทดสอลโฟริเออร์ ทรานส์ฟอร์ม อินฟราเรด สเปคโตรสโคปี  
  6. การทดสอบไคราลิตี้
  7. การทดสอบไอโซโทพิค
  8. การทดสอบโลหะหนัก
Interested in the science behind essential oils? Check out this free eBook, Essential Oil Chemistry. Click here to download.

ใช้การทดสอบด้วยออแกโนเลพติก (Organoleptic test) เพื่อตรวจหาความบริสุทธิ์ของน้ำมันหอมระเหย

การทดสอบด้วยวิธีการออแกโนเลพติก คือการใช้ประสาทสัมผัสเกี่ยวข้องกับการใช้ประสาทสัมผัสของมนุษย์ โดยเฉพาะการมองเห็น ดมกลิ่น รับรสและการสัมผัส สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการกลั่น ประสาทสัมผัสจำเป็นต่อการทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหย น้ำมันที่มีกลิ่นผิดปกติ มีลักษณะทางกายภาพที่ไม่คงที่ หรือมีสีที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยเหล่านี้จะบอกให้ผู้กลั่นทราบทันทีว่ามีบางอย่างผิดปกติ บ่อยครั้งการทดสอบในลักษณะนี้ถูกใช้เป็นขั้นตอนในการควบคุมคุณภาพเบื้องต้นก่อนที่จะมีการทดสอบอื่นๆ


ใช้การทดสอบไมโครเบียล  (Microbial test) เพื่อตรวจหาความบริสุทธิ์ของน้ำมันหอมระเหย

การทดสอบไมโครเบียล คือการทดสอบด้วยจุลินทรีย์ ดำเนินการโดยการวิเคราะห์น้ำมันหอมระเหยชุดหนึ่ง เพื่อหาจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายทางชีวภาพ เช่น กลุ่มเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัสและรา กระบวนการนี้เริ่มจากการเตรียมตัวอย่างน้ำมันหอมระเหย จากนั้นใส่อาหารสำหรับเลี้ยงจุลินทรีย์ที่ปราศจากเชื้อลงไปในแผ่นหรือจานเพาะเชื้อที่ปิดมิดชิด ตัวอย่างจะถูกฟักตัวเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วสังเกตการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ การทดสอบนี้จะถูกใช้กับผลิตภัณฑ์ที่เข้าสู่โรงงานผลิตและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปก่อนการจัดจำหน่ายเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการปนเปื้อนในระหว่างกระบวนการบรรจุ
 

ใช้กระบวนการแก๊ส โครมาโตรกราฟี (gas chromatography) เพื่อตรวจสอบความบริสุทธิ์ของน้ำมันหอมระเหย

ในกระบวนการแก๊ส โครมาโทกราฟี น้ำมันหอมระเหยจะถูกทำให้เป็นไอและส่งไอที่ระเหยนี้ผ่านท่อยาวเพื่อแยกน้ำมันออกเป็นส่วนประกอบแต่ละส่วน ส่วนประกอบแต่ละตัวจะเคลื่อนที่ผ่านท่อด้วยความเร็วที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับน้ำหนักโมเลกุลและคุณสมบัติทางเคมีซึ่งวัดได้เมื่อออกจากท่อ การใช้วิธีการทดสอบนี้จะทำให้นักวิทยาศาสตร์ผู้ควบคุมคุณภาพ สามารถระบุได้ว่าตัวอย่างของน้ำมันหอมระเหยมีสารประกอบใดบ้าง


ใช้กระบวนการแมส สเปคโตรเมทรี (mass spectrometry) เพื่อตรวจสอบความบริสุทธิ์ของน้ำมันหอมระเหย 

กระบวนการแมส สเปคโตรเมทรี จะใช้ร่วมกับ แก๊ส โครมาโตรกราฟี เพื่อกำหนดองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหย เมื่อมวลสารองค์ประกอบถูกแยกออกจากกันในกระบวนการ แก๊ส โครมาโตรกราฟี มวลสารนี้จะแตกตัวเป็นไอออนและส่งผ่านสนามแม่เหล็กในกระบวนการแมส สเปคโตรเมทรี ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จะสามารถระบุน้ำหนักของโมเลกุลและประจุของแต่ละองค์ประกอบได้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสามารถของน้ำมันหอมระเหย

 

ใช้กระบวนการโฟริเออร์ - ทรานส์ฟอร์ม อินฟราเรด สเปคโตรสโคปี (Fourier-transform infrared spectroscopy (FTIR)) เพื่อตรวจสอบความบริสุทธิ์ของน้ำมันหอมระเหย

โฟริเออร์ - ทรานส์ฟอร์ม อินฟราเรด สเปคโตรสโคปี (FTIR) จะถูกใช้เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำมันหอมระเหยมีประสิทธิภาพและคุณภาพสม่ำเสมอ วิธีการทดสอบนี้สามารถระบุส่วนประกอบและโครงสร้างของสารประกอบของน้ำมันหอมระเหย  ในการสแกน FTIR แสงอินฟราเรดที่มีความถี่ต่างกัน จะส่องผ่านตัวอย่างน้ำมันหอมระเหยและวัดปริมาณแสงที่ตัวอย่างดูดซับไว้ การวัดคุณภาพของตัวอย่างจะทำผ่านการเปรียบเทียบผลลัพธ์จากการอ่านค่า FTIR กับฐานข้อมูลในอดีตที่ได้บันทึกรูปแบบการดูดซึมของตัวอย่างน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพสูง

 

ใช้การทดสอบไคราลิตี้ (chairality test) เพื่อตรวจหาความบริสุทธิ์ของน้ำมันหอมระเหย

การทดสอบไคราลิตี้ เป็นคำที่มาจากภาพสะท้อนของมือในกระจกเงา ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายการวางแนว 3 มิติของโมเลกุล เช่นเดียวกับมือของคุณที่มีสองข้าง โมเลกุลของไครัลมีอยู่ในสองรูปแบบโดยแยกเป็นมือขวาหรือมือซ้าย คุณอาจนึกภาพหลักการนี้ได้โดยดูที่มือของคุณ: เมื่อวางเคียงข้างกันสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนภาพของกันและกัน 

ในโมเลกุลของ “มือ” แต่ละข้างมีคุณสมบัติทางเคมีที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อปฏิสัมพันธ์ทางสรีรวิทยาในร่างกาย มือข้างหนึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในสภาพแวดล้อมในห้องปฏิบัติการ อัตราส่วนของโมเลกุลขวาต่อซ้ายจะอยู่ที่ 50/50 เสมอ เนื่องจากความคล้ายคลึงกันของโครงสร้าง อัตราส่วนขององค์ประกอบด้านขวาต่อซ้ายสามารถกำหนดได้โดยใช้แก๊ส โครมาโตรกราฟี ชนิดพิเศษ

แม้ว่าจะไม่ได้ดำเนินการแบบกลุ่มต่อกลุ่ม แต่วิธีการทดสอบนี้ใช้เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีองค์ประกอบสังเคราะห์อยู่ในน้ำมันหอมระเหยใดๆ

chilarity animation

ใช้การทดสอบไอโซโทพิค (Isotopic analysis test) เพื่อตรวจหาความบริสุทธิ์ของน้ำมันหอมระเหย

สสารประกอบด้วยส่วนประกอบเล็กๆ ทางเคมี ที่เรียกว่าองค์ประกอบ แม้ว่าจะมีองค์ประกอบหลายสิบตัว แต่ละองค์ประกอบมีความแตกต่างกัน เนื่องจากมีโปรตอน บางครั้งองค์ประกอบสามารถมีอยู่ในรูปแบบที่เสถียรได้มากกว่าหนึ่งรูปแบบหากมีจำนวนนิวตรอนมากขึ้นหรือน้อยลง เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น องค์ประกอบจะเรียกว่าไอโซโทป องค์ประกอบคาร์บอนมีไอโซโทปเสถียร 2 ชนิดคือ คาร์บอน-12 (6 โปรตอนและ 6 นิวตรอน) และคาร์บอน-13 (6 โปรตอนและ 7 นิวตรอน)

เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยเป็นสารประกอบอินทรีย์ จึงประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอนเป็นหลัก มีอัตราส่วนของคาร์บอน-12 ต่อคาร์บอน-13 ไอโซโทปที่แน่นอน อัตราส่วนนี้แตกต่างกันไปตามพื้นที่ภูมิประเทศทั่วโลก

การใช้ แมส สเปคโตรเมทรี ชนิดพิเศษทำให้สามารถระบุได้ว่าไอโซโทปใดมีอยู่ในส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยและมีในปริมาณเท่าใด หากน้ำมันหอมระเหยมาจากแหล่งเดียวกัน ส่วนประกอบทั้งหมดในน้ำมันหอมระเหยควรมีอัตราส่วนของไอโซโทปเท่ากัน หากส่วนประกอบใดมีโปรไฟล์ไอโซโทปที่แตกต่างจากองค์ประกอบอื่น นักวิทยาศาสตร์ผู้ควบคุมคุณภาพ จะทราบว่าน้ำมันหอมระเหยชนิดนั้นมีสิ่งปนเปื้อน

 

ใช้การทดสอบโดยใช้โลหะหนัก (heavy metal test)  เพื่อตรวจหาความบริสุทธิ์ของน้ำมันหอมระเหย

การทดสอบโดยใช้โลหะหนักจะแสดงปริมาณโลหะหนักในน้ำมันหอมระเหยเมื่อกลั่นอย่างเหมาะสม น้ำมันหอมระเหยไม่ควรมีโลหะหนัก การทดสอบ ICP-MS คือการใช้สื่อพลังงานสูงที่เรียกว่า อินดัคทีฟลี่ คัพเพิล พลาสมา (Inductively coupled plasma (ICP)) เพื่อทำให้ตัวอย่างน้ำมันหอมระเหยแตกตัวเป็นไอออน จากนั้นตัวอย่างจะถูกส่งไปยังเครื่องแมส สเปคโตรสโคป ซึ่งแยกตัวอย่างออกเป็นส่วนขององค์ประกอบ ที่บ่งชี้ว่ามีองค์ประกอบใดบ้างและในปริมาณเท่าใด

 

การทดสอบแมส สเปคโตรเมทรี และ การทดสอบแก๊ส โครมาโตรกราฟี

ในกระบวนการแก๊ส โครมาโทกราฟี น้ำมันหอมระเหยจะถูกทำให้เป็นไอและส่งไอที่ระเหยนี้ผ่านท่อยาวเพื่อแยกน้ำมันออกเป็นส่วนประกอบแต่ละส่วน ส่วนประกอบแต่ละตัวจะเคลื่อนที่ผ่านท่อด้วยความเร็วที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับน้ำหนักโมเลกุลและคุณสมบัติทางเคมีซึ่งวัดได้เมื่อออกจากท่อ การใช้วิธีการทดสอบนี้จะทำให้นักวิทยาศาสตร์ผู้ควบคุมคุณภาพ สามารถระบุได้ว่าตัวอย่างของน้ำมันหอมระเหยมีสารประกอบใดบ้าง

กระบวนการแมส สเปคโตรเมทรี จะใช้ร่วมกับ แก๊ส โครมาโตรกราฟี เพื่อกำหนดองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหย เมื่อมวลสารองค์ประกอบถูกแยกออกจากกันในกระบวนการ แก๊ส โครมาโตรกราฟี มวลสารนี้จะแตกตัวเป็นไอออนและส่งผ่านสนามแม่เหล็กในกระบวนการแมส สเปคโตรเมทรี ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จะสามารถระบุน้ำหนักของโมเลกุลและประจุของแต่ละองค์ประกอบได้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสามารถของน้ำมันหอมระเหย

 

การทดสอบโฟริเออร์ ทรานส์ฟอร์ม อินฟราเรด สเปคโตรสโคปี

โฟริเออร์ - ทรานส์ฟอร์ม อินฟราเรด สเปคโตรสโคปี (FTIR) จะถูกใช้เพื่อให้แน่ใจว่าน้ำมันหอมระเหยมีประสิทธิภาพและคุณภาพสม่ำเสมอ วิธีการทดสอบนี้สามารถระบุส่วนประกอบและโครงสร้างของสารประกอบของน้ำมันหอมระเหย  ในการสแกน FTIR แสงอินฟราเรดที่มีความถี่ต่างกัน จะส่องผ่านตัวอย่างน้ำมันหอมระเหยและวัดปริมาณแสงที่ตัวอย่างดูดซับไว้ การวัดคุณภาพของตัวอย่างจะทำผ่านการเปรียบเทียบผลลัพธ์จากการอ่านค่า FTIR กับฐานข้อมูลในอดีตที่ได้บันทึกรูปแบบการดูดซึมของตัวอย่างน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพสูง

การทดสอบไคราลิตี้

การทดสอบไคราลิตี้ เป็นคำที่มาจากภาพสะท้อนของมือในกระจกเงา ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายการวางแนว 3 มิติของโมเลกุล เช่นเดียวกับมือของคุณที่มีสองข้าง โมเลกุลของไครัลมีอยู่ในสองรูปแบบโดยแยกเป็นมือขวาหรือมือซ้าย คุณอาจนึกภาพหลักการนี้ได้โดยดูที่มือของคุณ: เมื่อวางเคียงข้างกันสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนภาพของกันและกัน ในโมเลกุลของ “มือ” แต่ละข้างมีคุณสมบัติทางเคมีที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อปฏิสัมพันธ์ทางสรีรวิทยาในร่างกาย มือข้างหนึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในสภาพแวดล้อมในห้องปฏิบัติการ อัตราส่วนของโมเลกุลขวาต่อซ้ายจะอยู่ที่ 50/50 เสมอ เนื่องจากความคล้ายคลึงกันของโครงสร้าง อัตราส่วนขององค์ประกอบด้านขวาต่อซ้ายสามารถกำหนดได้โดยใช้แก๊ส โครมาโตรกราฟี ชนิดพิเศษ แม้ว่าจะไม่ได้ดำเนินการแบบกลุ่มต่อกลุ่ม แต่วิธีการทดสอบนี้ใช้เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีองค์ประกอบสังเคราะห์อยู่ในน้ำมันหอมระเหยใดๆ

 

การทดสอบไอโซโทพิค

สสารประกอบด้วยส่วนประกอบเล็กๆ ทางเคมี ที่เรียกว่าองค์ประกอบ แม้ว่าจะมีองค์ประกอบหลายสิบตัว แต่ละองค์ประกอบมีความแตกต่างกัน เนื่องจากมีโปรตอน บางครั้งองค์ประกอบสามารถมีอยู่ในรูปแบบที่เสถียรได้มากกว่าหนึ่งรูปแบบหากมีจำนวนนิวตรอนมากขึ้นหรือน้อยลง เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น องค์ประกอบจะเรียกว่าไอโซโทป องค์ประกอบคาร์บอนมีไอโซโทปเสถียร 2 ชนิดคือ คาร์บอน-12 (6 โปรตอนและ 6 นิวตรอน) และคาร์บอน-13 (6 โปรตอนและ 7 นิวตรอน) เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยเป็นสารประกอบอินทรีย์ จึงประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอนเป็นหลัก มีอัตราส่วนของคาร์บอน-12 ต่อคาร์บอน-13 ไอโซโทปที่แน่นอน อัตราส่วนนี้แตกต่างกันไปตามพื้นที่ภูมิประเทศทั่วโลก

การใช้ แมส สเปคโตรเมทรี ชนิดพิเศษทำให้สามารถระบุได้ว่าไอโซโทปใดมีอยู่ในส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยและมีในปริมาณเท่าใด หากน้ำมันหอมระเหยมาจากแหล่งเดียวกัน ส่วนประกอบทั้งหมดในน้ำมันหอมระเหยควรมีอัตราส่วนของไอโซโทปเท่ากัน หากส่วนประกอบใดมีโปรไฟล์ไอโซโทปที่แตกต่างจากองค์ประกอบอื่น นักวิทยาศาสตร์ผู้ควบคุมคุณภาพ จะทราบว่าน้ำมันหอมระเหยชนิดนั้นมีสิ่งปนเปื้อน

 

การทดสอบโลหะหนัก

การทดสอบโดยใช้โลหะหนักจะแสดงปริมาณโลหะหนักในน้ำมันหอมระเหยเมื่อกลั่นอย่างเหมาะสม น้ำมันหอมระเหยไม่ควรมีโลหะหนัก การทดสอบ ICP-MS คือการใช้สื่อพลังงานสูงที่เรียกว่า อินดัคทีฟลี่ คัพเพิล พลาสมา (Inductively coupled plasma (ICP)) เพื่อทำให้ตัวอย่างน้ำมันหอมระเหยแตกตัวเป็นไอออน จากนั้นตัวอย่างจะถูกส่งไปยังเครื่องแมส สเปคโตรสโคป ซึ่งแยกตัวอย่างออกเป็นส่วนขององค์ประกอบ ที่บ่งชี้ว่ามีองค์ประกอบใดบ้างและในปริมาณเท่าใด

เลือกทวีปของคุณ

เลือกภูมิภาคของคุณ

เลือกตำแหน่งของคุณ

เลือกภาษาของคุณ